หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย มีพันธกิจหลักในการฝึกอบรมเภสัชกรให้เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด (ว.ภ. (เภสัชบำบัด)) โดยความร่วมมือ กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีปรัชญาของหลักสูตร คือ ส่งเสริม ฝึกฝน และวิจัยองค์ความรู้ ทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด เพื่อเพิ่มคุณภาพ และยกระดับมาตรฐานในการให้บริการทางเภสัชกรรมและการบริบาลทางเภสัชกรรมในระดับสูง ผู้ผ่านการอบรม สามารถเป็นผู้แนะนำการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากภารกิจในด้านการฝึกอบรมเภสัชกรให้เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมแล้ว วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพ เภสัชกรให้สามารถปฏิบัติงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการจัด ประชุมวิชาการ Contemporary Review in Pharmacotherapy 2024: Optimizing Medication Safety: From Evidence-Based Medicine to Pharmacy Practice โดยเนื้อหาในการประชุมจะประกอบ ด้วยการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมุ่งเน้น ถึงการใช้ยาอย่างปลอดภัย โดยเรียบเรียงเนื้อหาแบบเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนระบบยาใน โรงพยาบาล ตลอดจนการนำเสนอข้อมูล ทั้งเรื่องของอาการไม่พึงประสงค์ อันตรกิริยาระหว่างยา ข้อห้ามใช้ และข้อควร ระวังต่างๆ ทั้งประเด็นปัญหาที่พบได้บ่อยและข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้อย่างเหมาะสม เพื่อเน้นให้เภสัชกร สามารถนำความรู้ไปใช้ดูแลผู้ป่วย ในเวชปฏิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยสูงสุด
วัตถุประสงค์
- เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการแก่เภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมให้มีศักยภาพและความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย
- เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม ในแต่ละสาขา
วัน เวลา และสถานที่จัดประชุม
วันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 เวลา 8.30 -16.30 น.
ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการจัดประชุม
บรรยายวิชาการ (onsite)
จำนวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
ประมาณ 15 หน่วยกิต
ผู้เข้าร่วมประชุม
เภสัชกร / อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ / บุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป ประมาณ 200 คน
การสมัครและลงทะเบียน (ค่าลงทะเบียนตลอดงานประชุม)
- เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป เป็นเงิน 4,000 บาท
- เภสัชกรที่ได้รับวุฒิบัตรฯ / หนังสืออนุมัติฯ จากวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ เป็นเงิน 3,500 บาท
และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- อาจารย์ประจำสถาบันฝึกอบรม ในสังกัดวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ ที่ดำเนินงานให้กับวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ณ ปัจจุบัน
เภสัชกรประจำบ้านในสังกัดวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์
วิธีการลงทะเบียน : สามารถลงทะเบียนผ่านระบบ E-SERVICE บนเวบไซต์ของสภาเภสัชกรรม โดยลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 16.30 น.
**วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนค่าลงทะเบียน ในทุกๆกรณี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมได้รับการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเภสัชบำบัด
- เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในหน่วยงานของตน
- เกิดความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมระหว่างวิทยาลัยเภสัชบำบัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านบริบาลทางเภสัชกรรม
ดัชนีวัดความสำเร็จของโครงการเชิงปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 200 คน
ดัชนีวัดความสำเร็จของโครงการเชิงคุณภาพ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนแบบทดสอบผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80
กำหนดการประชุม
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567
|
เวลา
|
หัวข้อการประชุม
|
08.00 – 08.30 น.
|
ลงทะเบียน
|
08.30 – 08.45 น.
|
เปิดการประชุม และ แนะนำวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย โดย รศ.ดร.ภก.ปรีชา มนทกานติกุล ประธานวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย
|
Session 1 Strategies to improve medication safety in hospital
|
08.45 – 09.45 น.
|
Multidisciplinary team: key success for medication safety โดย ภญ.วิชชุนี พิตรากูล โรงพยาบาลสมุทรสาคร
|
09.45 – 10.00 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
10.00 – 11.00 น.
|
Medication management system: risk management, data collect and analyze โดย รศ.ดร.ภก.สุรศักดิ์ เสาแก้ว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
|
Session 2 Medication safety in infectious disease
|
11.00 – 11.45 น.
|
Outpatient parenteral antimicrobial therapy (OPAT) and the evolving clinical responsibilities of the clinical pharmacist : What shouldn’t be missed? โดย อ.ดร.ภก.โอฬาริก อะสุพล ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
|
11.45 – 12.25 น.
|
Lunch symposium 1
|
12.25 – 13.30 น.
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.30 – 14.10 น.
|
Lunch symposium 2
|
14.10 – 15.10 น.
|
Unrecognized antibiotic treatment error among non-ID expert staff : Pitfalls and pearls in practice โดย ดร.ภก.นิรันดร์ จ่างคง งานบริบาลเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
|
15.10 – 15.20 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
Session 3 Medication safety in nutrition care
|
15.20 – 16.20 น.
|
Strategies to optimize patient safety during parenteral nutrition therapy โดย ภญ.นีรชา พลอินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
|
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567
|
08.00 – 08.30 น.
|
ลงทะเบียน
|
Session 4 Medication safety in neurology & psychiatry
|
08.30 – 9.30 น.
|
Safety Concerns of Anti-Seizure Medications: A Practical Guide for Management โดย ผศ.ดร.ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภญ.กฤตยา วรนิสรากุล ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
|
09.30 – 09.45 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
09.45 - 10.45 น.
|
Serious ADR and DI of Psychotropic Drugs: Detection and management โดย ผศ.ดร.ภญ.เรวดี เจนร่วมจิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.ภก.ทวนธน บุญลือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
|
Session 5 Medication safety in oncology
|
10.45 – 11.45 น.
|
Common pitfalls of hematologic malignancies โดย อ.ดร.ภก.ตรัย ธารพานิช คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ภญ.ศรีวตรี ชาวสามทอง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
|
11.45 – 12.25 น.
|
Lunch symposium 3:
|
12.25 – 13.30 น.
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.30 – 14.10 น.
|
Lunch symposium 4:
|
14.10 – 15.10 น.
|
Common pitfalls in solid tumor โดย ผศ.ดร.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.ดร.ภก.ธีรภัทร์ มาแจ่ม สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
|
15.10 – 15.20 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
Session 6 Medication safety in pediatric
|
15.20 – 16.20 น.
|
Medication safety in pediatric patients: What should not be missed? โดย ดร.ภญ.ธิตินันท์ รักษ์หนู กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
|
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567
|
08.00 – 08.30 น.
|
ลงทะเบียน
|
Session 7 Medication safety in nephrology
|
08.30 – 9.30 น.
|
2024 Update on Lupus Nephritis Management: Optimizing the Efficacy and Safety โดย ผศ.ดร.ภญ.ดาราพร รุ้งพราย สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
|
09.30 – 9.45 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
09.45 – 10.45 น.
|
Moving Toward a Contemporary Framework of Drug Induced Kidney Disease โดย ผศ.ดร.ภญ.ศยามล สุขขา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
|
Session 8 Medication safety in cardiology and critical care
|
10.45 – 11.45 น.
|
Step toward the safety of high alert medications: focus on vasopressors and inotropes โดย ดร.ภญ.ปนัดดา ภาณุสิทธิกร ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
|
11.45 – 12.25 น.
|
Lunch symposium 5:
|
12.25 – 13.30 น.
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.30 – 14.30 น.
|
Step toward the safety of high alert medications: focus on opioid and sedation drugs โดย ดร.ภก.ทศพล เลิศวัฒนชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
|
14.30 – 15.30 น.
|
Safety managing patient on anticoagulants โดย ภญ.ธศิกานต์ แช่มช้อย งานบริการเภสัชกรรมคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
|
คลิก >>>>>ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม (กรณีที่ไม่ใช่เภสัชกร เป็นบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นและเป็นนักศึกษา)
คลิก>>>>>หนังสือขออนุมัติเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ
คลิก>>>>>แบบฟอร์มจองห้องพัก
คลิก>>>>ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน |